คลินิกริดสีดวงทวาร
”มีเลือดออกขณะขับถ่ายและหลังขับถ่าย”
 
         การที่หลอดเลือดลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมีอาการบวมโป่งพอง และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกมาจากทวารหนัก และเกิดขึ้นจากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นเมื่อเกิดอาการจะก่อให้เกิดความรำคาญใจ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ


         โรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoid) หรือที่เรารู้จักกัน เรียกว่า ริดสีดวง เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจาก เส้นเลือดบริเวณทวารหนัก หรือ ส่วนปลายสุด ของลำไส้ใหญ่ เกิดอาการบวม โป่งพองอาจมีหลอดเลือดบางส่วน โป่งนูนยื่นเป็นตั้งนูน ออกมานอกทวารหนัก มักสร้างความทุกข์ทรมาน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
        ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาด้วย อุจจาระเป็นเลือดสด มีก้อนโผล่ ออกมาขณะถ่ายอุจจาระ หรือ มีติ่งเนื้อ บริเวณขอบรอบรูทวาร โดยทั่วไป โรคริดสีดวงทวาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
          1. โรคริดสีดวงชนิดภายนอก
          2. โรคริดสีดวงชนิดภายใน

แบ่งออกมาเป็น 4 ระยะ
         ระยะที่ 1 มีเลือดออกแต่ไม่มีหัวโผล่
         ระยะที่ 2 มีเลือดออกมีหัวโผล่แต่หุบกลับเข้าไปได้เอง
         ระยะที่ 3 มีหัวโผล่ ใช้นิ้ว ดันกลับ เข้าไปได้
         ระยะที่ 4 มีหัวโผล่ใช้นิ้ว ดันกลับเข้าไปไม่ได้

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง
        - ผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็ง         
        - การดื่ม เครื่องดื่ม alcohol
        - หญิงตั้งครรภ์
       - การรับประทานอาหาร รสจัด
       - ชอบนั่งถ่ายอุจจาระนานๆเช่น เล่นมือถือนาๆ 
       - ภาวะท้องผูกเรื้อรัง
       - พันธุกรรม
       - อุปนิสัย ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทานอาหารทีมีไขมันเยอะ

       ในหลังตั้งครรภ์ เชื่อว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เกิดการขยายตัวของกล้ามเนื้อ ทางเดินอาหารและการกดทับของลำไส้จากมดลูกที่มีขนาดมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้นาน จากกลายเป็นต้นเหตุ ของการเกิดโรคริดสีดวงทวารได้

การรักษา
       1. หากเป็นระยะ ที่ 1 หรือ 2 สามารถรับยา ให้หายด้วยตนเองโดยการนั่งแช่ น้ำอุ่นในกะละมังใบใหญ่ เทด่างทับทิมผสมจนน้ำกลายเป็นสีชมพูจางๆ แช่นาน 15 – 20 นาที ทำก่อน – หลัง ถ่ายอุจจาระวิธีนี้จะช่วยลดอาการอักเสบได้
       2. การรักษาด้วยยาเหน็บรักษาริดสีดวง
       3. การฉีดยาไปยังตำแหน่ง ที่เลือดออก เพื่อให้หัวริดสีดวงฝ่อ
       4. การรักษาด้วยการใช้ยางริดสีดวง เพื่อให้หัวริดสีดวงหลุดไปเองตามธรรมชาติ
       5. การรักษาด้วยการผ่าตัด มักทำในระยะที่ 3-4 โดยศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

วิธีป้องกัน
      - รับประทานอาหารที่มีเยื้อใยสูง
      - ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อย วันละ 5 – 10 แก้ว
      - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
      - เลี่ยงเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
      - เลี่ยงการนั่งถ่ายอุจจาระ นานๆ 
      - ไม่ควรกลั้นอุจจาระเป็นเวลานาน